เรื่องที่อาจจะดูเล็กน้อย แต่กลับไม่เล็กน้อยในสายตาพนักงานบางคน

มีหลายๆ เรื่องในที่ทำงานที่คนเป็นผู้บริหารหรือหัวหน้างานอาจจะไม่ได้คิดอะไร แต่กลับกลายเป็นว่ามันสร้างความไม่สบายใจ หรือไม่พอใจให้กับพนักงานเอาได้ง่ายๆ เหมือนกัน และนั่นเป็นเรื่องที่เราควรระวังและไม่ให้เกิดขึ้น

การติดต่อ / สั่งงาน หลังเลิกงาน

ด้วยเทคโนโลยีวันนี้ ทำให้การติดต่อกันผ่านช่องทางดิจิทัลนั้นทำได้ง่าย เช่นการส่งอีเมล์ไปจนถึงการส่งข้อความผ่านแอพอย่าง LINE / Facebook Message จนทำให้หลายคนเคยตัวกับการคุยงานกันต่อเนื่องแม้ว่าจะแยกย้ายกันกลับบ้านแล้ว ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าหลายคนยังมีการทำงานต่อเนื่องกลับไปที่บ้าน หรือบางคนก็ทำงานอยู่โยงดึกกันไป

แต่ก็นั่นเองที่หลายคนอาจจะลืมคิดว่าหลังเวลาเลิกงานไปแล้วนั้นจะเข้าสู่การเป็นเวลาส่วนตัว และการส่งข้อความอะไรไปให้นั้นก็จะถูกมองว่าเป็นการกวนเวลาส่วนตัวสำหรับคนๆ นั้นได้ โดยแม้ว่าหลายคนอาจจะมองว่าเป็นการฝากข้อความไว้ก่อน ไม่ได้ต้องตอบอะไรตอนนั้น แต่ในความจริงแล้วมันก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลกับอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน ทางที่ดีแล้วคือการตั้งกฏการทำงานไว้ว่าจะคุยเรื่องงานระหว่างช่วงเวลาใดของวัน และเลี่ยงการติดต่อเรื่องงานในช่วงเวลาหลังจากนั้นจะดีกว่า

การให้ช่วยเรื่องส่วนตัว

อาจจะมีบางครั้งที่เราให้อีกฝ่ายช่วยอะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องส่วนตัว เช่นการซื้อของ ชำระเงิน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะไม่ได้แปลกอะไรหากเป็นเพื่อนหรือคนสนิท แต่กับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานนั้นก็อาจจะถูกมองว่าเป็นการใช้งานนอกหน้าที่เอาได้เหมือนกัน (ถ้าใช้ให้ทำเยอะเกินจำเป็น)

หลายคนอาจจะมองว่าเรื่องนี้ดูหยุมหยิบเกินไปและเราควรจะมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานกัน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่ากับบางคนก็ไม่ได้คิดแบบนั้นเพราะการฝากให้ทำอะไรบางอย่างให้ก็ไม่ต่างจากการขอให้เขามีภาระบางอย่างเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ฉะนั้นแล้วจึงควรพิจารณาเรื่องนี้ให้ดี และเลือกขอความช่วยเหลือที่เหมาะสม ไม่เกินพอดีและไม่บ่อยจนเกินไป

การสนิทสนมกับบางคนมากเป็นพิเศษ

การรักษาระดับความสัมพันธ์และระยะห่างกับเพื่อนร่วมงานก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพราะการที่บางคนสนิทกันมากเป็นพิเศษก็อาจจะนำไปสู่ประเด็นซุบซิบนินทา หรือการมองด้วยอคติว่ามีการช่วยเหลือ เข้าข้างกัน กลายเป็นประเด็นแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายกันได้

แม้ว่าในความจริงแล้วมันก็เป็นเรื่องปรกติที่บางคนจะมีความสนิทสนมและเข้าขากับใครบางคนเป็นพิเศษ แต่คนทำงานก็ต้องรู้จักการบริหารความสัมพันธ์ตรงนี้ให้ดูเหมาะสม เช่นเดียวกับที่ต้องรู้วิธีการวางตัวกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นที่ตัวเองไม่ได้สนิทสนมด้วยเพื่อเลี่ยงปัญหาข้อนี้

การต้องเอาของตัวเองมาใช้ในที่ทำงาน

บางออฟฟิศอาจจะมีอุปกรณ์ไม่พร้อม หรือมีขั้นตอนยุ่งยากในการขอใช้จนทำให้พนักงานหลายคนเลือกจะเอาอุปกรณ์ต่างๆ ของตัวเองมาใช้แทนเช่นคอมพิวเตอร์ หน้าจอ ปากกา ฯลฯ ซึ่งบางที่อาจจะมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนแต่กับพนักงานบางคนก็อาจจะมองว่าที่ต้องทำแบบนั้นเพราะบริษัทไม่ช่วยเหลือ และยิ่งมากขึ้นๆ ก็อาจจะมองว่าบริษัทเอาเปรียบพนักงานได้เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงควรสำรวจความต้องการต่างๆ ของพนักงานและเตรียมความพร้อมต่างๆ ให้มากที่สุดเพื่อให้พนักงานไม่รู้สึกกับประเด็นนี้มากจนเกินไป

มีหลายๆ เรื่องในที่ทำงานที่คนเป็นผู้บริหารหรือหัวหน้างานอาจจะไม่ได้คิดอะไร แต่กลับกลายเป็นว่ามันสร้างความไม่สบายใจ หรือไม่พอใจให้กับพนักงานเอาได้ง่ายๆ เหมือนกัน และนั่นเป็นเรื่องที่เราควรระวังและไม่ให้เกิดขึ้น

การติดต่อ / สั่งงาน หลังเลิกงาน

ด้วยเทคโนโลยีวันนี้ ทำให้การติดต่อกันผ่านช่องทางดิจิทัลนั้นทำได้ง่าย เช่นการส่งอีเมล์ไปจนถึงการส่งข้อความผ่านแอพอย่าง LINE / Facebook Message จนทำให้หลายคนเคยตัวกับการคุยงานกันต่อเนื่องแม้ว่าจะแยกย้ายกันกลับบ้านแล้ว ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าหลายคนยังมีการทำงานต่อเนื่องกลับไปที่บ้าน หรือบางคนก็ทำงานอยู่โยงดึกกันไป

แต่ก็นั่นเองที่หลายคนอาจจะลืมคิดว่าหลังเวลาเลิกงานไปแล้วนั้นจะเข้าสู่การเป็นเวลาส่วนตัว และการส่งข้อความอะไรไปให้นั้นก็จะถูกมองว่าเป็นการกวนเวลาส่วนตัวสำหรับคนๆ นั้นได้ โดยแม้ว่าหลายคนอาจจะมองว่าเป็นการฝากข้อความไว้ก่อน ไม่ได้ต้องตอบอะไรตอนนั้น แต่ในความจริงแล้วมันก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลกับอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน ทางที่ดีแล้วคือการตั้งกฏการทำงานไว้ว่าจะคุยเรื่องงานระหว่างช่วงเวลาใดของวัน และเลี่ยงการติดต่อเรื่องงานในช่วงเวลาหลังจากนั้นจะดีกว่า

การให้ช่วยเรื่องส่วนตัว

อาจจะมีบางครั้งที่เราให้อีกฝ่ายช่วยอะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องส่วนตัว เช่นการซื้อของ ชำระเงิน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะไม่ได้แปลกอะไรหากเป็นเพื่อนหรือคนสนิท แต่กับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานนั้นก็อาจจะถูกมองว่าเป็นการใช้งานนอกหน้าที่เอาได้เหมือนกัน (ถ้าใช้ให้ทำเยอะเกินจำเป็น)

หลายคนอาจจะมองว่าเรื่องนี้ดูหยุมหยิบเกินไปและเราควรจะมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงานกัน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่ากับบางคนก็ไม่ได้คิดแบบนั้นเพราะการฝากให้ทำอะไรบางอย่างให้ก็ไม่ต่างจากการขอให้เขามีภาระบางอย่างเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ฉะนั้นแล้วจึงควรพิจารณาเรื่องนี้ให้ดี และเลือกขอความช่วยเหลือที่เหมาะสม ไม่เกินพอดีและไม่บ่อยจนเกินไป

การสนิทสนมกับบางคนมากเป็นพิเศษ

การรักษาระดับความสัมพันธ์และระยะห่างกับเพื่อนร่วมงานก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพราะการที่บางคนสนิทกันมากเป็นพิเศษก็อาจจะนำไปสู่ประเด็นซุบซิบนินทา หรือการมองด้วยอคติว่ามีการช่วยเหลือ เข้าข้างกัน กลายเป็นประเด็นแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายกันได้

แม้ว่าในความจริงแล้วมันก็เป็นเรื่องปรกติที่บางคนจะมีความสนิทสนมและเข้าขากับใครบางคนเป็นพิเศษ แต่คนทำงานก็ต้องรู้จักการบริหารความสัมพันธ์ตรงนี้ให้ดูเหมาะสม เช่นเดียวกับที่ต้องรู้วิธีการวางตัวกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นที่ตัวเองไม่ได้สนิทสนมด้วยเพื่อเลี่ยงปัญหาข้อนี้

การต้องเอาของตัวเองมาใช้ในที่ทำงาน

บางออฟฟิศอาจจะมีอุปกรณ์ไม่พร้อม หรือมีขั้นตอนยุ่งยากในการขอใช้จนทำให้พนักงานหลายคนเลือกจะเอาอุปกรณ์ต่างๆ ของตัวเองมาใช้แทนเช่นคอมพิวเตอร์ หน้าจอ ปากกา ฯลฯ ซึ่งบางที่อาจจะมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนแต่กับพนักงานบางคนก็อาจจะมองว่าที่ต้องทำแบบนั้นเพราะบริษัทไม่ช่วยเหลือ และยิ่งมากขึ้นๆ ก็อาจจะมองว่าบริษัทเอาเปรียบพนักงานได้เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงควรสำรวจความต้องการต่างๆ ของพนักงานและเตรียมความพร้อมต่างๆ ให้มากที่สุดเพื่อให้พนักงานไม่รู้สึกกับประเด็นนี้มากจนเกินไป

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางเรื่องที่เริ่มพบเห็นกันได้บ่อยในการทำงาน จนบางครั้ง เรื่องเล็กน้อยเหล่านี้ อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ในใจของหลายคน และ การที่ไม่มีใครพูดถึง ก็ใช่ว่ามันไม่สำคัญ และมันไม่มีอยู่ พึงระวังกัน

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email

Get a Demo

Your Information
About Company
Book a Demo
Your Information
About Company
Book a Demo