5 วิธี เปลี่ยนการเรียนรู้แบบเก่า ๆ มาเป็น Bite-sized learning ที่ได้ประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

ในช่วงสถานการณ์โควิด ถือเป็นช่วงที่ทุกคนต้องปรับตัวกันพอสมควร ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน ซึ่งหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เราทำงานหนักขึ้น กว่าเดิม แต่ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

นี่เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด เพราะไม่เคยเจอกับตัวเอง เราพบว่าหลายคน เมื่อต้องปรับตัวมา Work from home จะทำให้รู้สึกเราเหนื่อยมากขึ้น เนื่องจากเราไม่สามารถแยก Work-Life Balance ของการใช้ชีวิตและการทำงานออกจากกันได้

แม้ว่าการ Work from home นั้น ดูเหมือนจะทำให้เรามีเวลามากขึ้น ไม่ต้องรีบตื่นเช้า ไม่ต้องเสียเวลาแต่งตัวเพื่อเดินทาง หรือ เจอรถติด เราดูเหมือนมีเวลาเหลือเฟือ เช่นมีเวลานอน , มีเวลาออกกำลังกาย แต่กลับกัน สิ่งที่พบคือ เรากลับทำงานเต็มเวลามากขึ้นเพราะหลังจากลืมตาตื่นเพียงไม่กี่นาทีเราก็สามารถเริ่มงานได้เลยและเราไม่มีเวลาพักชัดเจนเหมือนตอนทำงาน

โดยเฉพาะหากใครเป็น มนุษย์ Perfectionist ที่ไม่ชอบค้างงาน ต้องการความสมบูรณ์ ไม่อยากทิ้งงานไว้ คนกลุ่มนี้หากทำงานที่ออฟฟิศ เมื่อหมดเวลางานคุณก็ต้องเดินทางกลับบ้าน แต่การ Work from home ทำให้คุณไม่ยอมถอนตัวจากการทำงาน ส่งผลให้เกิดการทำงานมากกว่าเดิม เหนื่อยล้ากว่าเดิม จนเกิดเป็น ภาวะ Burn Out ได้แม้ทำงานที่บ้านก็ตาม

ภาวะ Burn Out คืออะไร?

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) หรือภาวะเหนื่อยล้าจากการทำงานจะมีลักษณะคล้ายโรคซึมเศร้าเช่นรู้สึกเครียดอยู่ลึกๆรู้สึกหดหู่ขาดแรงจูงใจหงุดหงิดอ่อนแรงไม่มีสมาธิเป็นต้น

ในตอนนี้ ภาวะ Burnout ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะการไปทำงานที่ออฟฟิศเพียงอย่างเดียวแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้แม้เราจะทำงานที่บ้านก็ตามซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น

  • ทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • การไม่สามารถปรับสมดุลการใช้ชีวิตส่วนตัวให้เหมาะสมกับงาน
  • รู้สึกกดดัน และไม่เคยชิน ที่ต้องปรับตัวอย่างรุนแรงกระทันหัน ในขณะเดียวกันก็ต้องทำงานให้ได้ดีเท่าเดิม
  • ความเครียดที่เกิดจากองค์กรขาดความมั่นคง ความชัดเจนในนโยบายการบริหาร
  • ความเครียดที่เกิดจากชีวิตขาดความแน่นอน มองไม่เห็นคำตอบว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะสิ้นสุดเมื่อใด จึงจะสามารถกลับไปใช้ชิวิตดังเดิม
  • สถานที่ไม่เหมาะกับการทำงานยังต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ภายในบ้านแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามแบ่งเวลาแบ่งสมองเพื่อทำงานให้สำเร็จ

ใครที่รู้ตัวว่า เริ่มมีอาการ Burnout แล้วจากสาเหตุข้างต้นก็ยังสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเองด้วยวิธีง่ายๆดังนี้

  1. ลองปรับทัศนคติ ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และ ปล่อยวางเรื่องวิตกกังวล โดยแก้ไขอะไรไม่ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดต้นเหตุสำคัญของภาวะ Burnout
  2. ควรกำหนดเวลาทำงานร่วมกันกับที่ทำงานเพราะทุกคนจะต้องมีการประสานงานร่วมกันซึ่งถ้าคนหนึ่งทำงานแต่อีกคนกำลังพักก็จะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพเกิดความเครียดตามมาควรต้องตกลงกันก่อนว่าจะทำงานเวลาไหนและพักเมื่อไหร่หากกำหนดได้อย่างตรงกันก็จะลดช่องว่างของปัญหาไปได้ช่วยให้ติดต่อกันได้ง่ายขึ้น
  3. จัดพื้นที่ให้เหมาะกับการทำงานโดยเฉพาะ หลายคนเอาคอมพิวเตอร์มานั่งทำงานบนเตียง หรือ การตื่นมาแล้วทำงานเลย ไม่อาบน้ำหรือแต่งตัวให้ดี ก็จะทำให้สมองตื่นตัวไม่เต็มที่ ควรจัดที่ทางในการทำงานให้เป็นระเบียบ อาบน้ำแต่งตัวให้เหมือนอย่างที่คุณทำตอนมาทำงาน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ให้สมองสั่งการว่าพร้อมที่จะเริ่มงานในเช้าวันใหม่อย่างสดใส มีประสิทธิภาพ
  4. พักผ่อนให้เพียงพอกินอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟมากจนเกินไป
  5. ปรับสมดุลให้กับชีวิต โดยแบ่งเวลาทำงานให้ชัดเจน ควรมีการแบ่งเวลาสำหรับพักผ่อน พักสายตา ผ่อนคลายเป็นบางช่วง เหมือนการทำงานข้างนอก
  6. คลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่คุณชอบเอาเวลาที่ไม่ต้องเดินทางไปออฟฟิศมาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอื่นๆที่ชอบอย่าใช้เวลาไปกับการทำงานแต่เพียงอย่างเดียว
  7. ลดการใช้อุปกรณ์สื่อสารและจำกัดเวลาการใช้โซเชียลมีเดียเพราะการที่คุณออนไลน์ตลอดเป็นเสมือนการเปิดช่องทางให้ทุกการสื่อสารรวมทั้งเรื่องงานเข้าหาได้อย่างไม่เป็นเวลา

เพียง 7 ข้อง่ายๆ ที่จะช่วยในการปรับสมดุลชีวิต จัดสรรเวลา ให้เรามีวินัยทั้งการทำงาน และการดูแลตัวเอง ครบในทุกๆโหมด รวมทั้งปล่อยวางความวิตกกังวลต่างๆ ที่ยังมาไม่ถึง โฟกัสการทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

ทั้งหมดนี้ ก็อาจจะช่วยให้เราพ้นรอดสภาวะ Burnout และพร้อมกลับทำงานอย่างมีความสุขได้อีกครั้งเมื่อได้ชีวิตปกติกลับมา

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email

Get a Demo

Your Information
About Company
Book a Demo
Your Information
About Company
Book a Demo