HR Think : Flexible Benefit สำคัญอย่างไรกับคน Gen Y

เรื่องของ Flexible Benefit (สวัสดิการแบบบยืดหยุ่น) นั่นเริ่มถูกพูดถึงในการบริหารธุรกิจมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะหลายองค์กรมีจำนวนพนักงานที่เป็นกลุ่มประชากร Gen Y มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้ต่างจากกลุ่ม Baby Boomer และ Gen X ในเรื่องทัศนคติต่อองค์กรในบางประเด็น

จุดสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารด้านบุคคลก็คือการที่คนกลุ่ม Gen Y มีแนวโน้มที่จะยึดถือและรักองค์กรน้อยลงเมื่อเทียบกับ Baby Boomer และ Gen X ซึ่งมักแสวงหาความมั่นคงและความภูมิใจที่ได้ทำงานกับองค์กรชั้นนำ และในขณะเดียวกัน Gen Y ก็เริ่มให้ความสำคัญกับผลตอบแทนในรูปแบบรายได้หรือสวัสดิการต่างๆ มากกว่า และนั่นทำให้หลายๆ องค์กรเริ่มพบว่าคนกลุ่มนี้มีการเรียกร้องเงินเดือนและสวัสดิการสูงขึ้นมื่อเทียบกับยุคที่ผ่านมา

และเพื่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะสามารถมัดใจคนกลุ่ม Gen Y ที่ถูกยกเป็นกลุ่มที่มีทักษะสำคัญอย่างเช่น Digital Skill เข้ามาในองค์กรนั้น หลายองค์กรก็เกิดการพิจารณาเงื่อนไขผลประโยชน์ที่เปลี่ยนไป โดย Flexible Benefit ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบที่หลายองค์กรนำมาใช้ เนื่องจากเป็นการเปิดตัวเลือกที่เพิ่มขึ้นให้กับพนักงานใหม่โดยไม่ต้องอยู่กับกรอบข้อบังคับแบบเดิมๆ เช่นการให้เลือกว่าจะรับเงินเดือนเท่าไร มีสวัสดิการแบบไหน มีค่ารักษาพยาบาลเท่าไร มีการช่วยเหลือเรื่องการออมเงินสะสมหรือไม่ เป็นต้น

การเปิดตัวเลือกให้พนักงานรุ่นใหม่ได้พิจารณานั้นทำให้พนักงานหลายคนให้ความสนใจที่จะทำงานให้กับองค์กร เพราะบางคนก็ไม่ได้เป็นกลุ่มที่จะอยู่กับองค์กรนานๆ ประเภท 5-10 ปี ซึ่งก็อาจจะเลือกขอรับค่าตอบแทนสูงๆ เป็นหลัก หรือบางคนก็อาจจะมองว่าขอค่าตอบแทนสูงมากกว่าสวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลซึ่งตัวเองยังมองว่าไม่จำเป็น

รูปแบบของ Flexible Benefit ที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพนักงานนี้อาจจะถูกมองว่าแปลกเสียหน่อยกับคนรุ่นก่อนๆ ที่มักจะเน้นเรื่องสวัสดิการ แต่กับกลุ่มคนรุ่น Gen Y นั้นอาจจะมองกลับกันและเห็นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับพวกเขาที่ต้องการความก้าวหน้าซึ่งเป็นแรงขับสำคัญในยุคปัจจุบัน และนั่นทำให้ Flexible Benefit เริ่มถูกพูดถึงว่าเป็นเงื่อนไขที่ดีในการดึงกลุ่มคน Gen Y เข้ามาทำงานกับองค์กร

สำหรับองค์กรที่สนใจและอยากเริ่มทำ Flexible Benefit นั้น ก็สามารถเริ่มได้จากวางโครงสร้างของเงินเดือนและสวัสดิการเป็นระดับต่างๆ เช่นการเลือกรับเงินเดือนสูงแต่สวัสดิการน้อย หรือการรับเงินเดือนระดับกลางแต่สวัสดิการมากขึ้น นอกจากนี้แล้วก็ยังต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของค่าตอบแทนระหว่างอายุงาน เช่นจะสามารถเปลี่ยนแพคเกจได้หากทำงานครบกี่ปี เป็นต้น

แม้ว่าอาจจะแปลกใหม่และแตกต่างไปจากการวางโครงสร้างผลตอบแทนแบบเดิมๆ แต่การทำ Flexible Benefit ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพราะมันดึงดูดคนทำงาน Gen Y ได้มากเช่นเดียวกับคน Gen Z ที่ก็ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนไปทางที่ใกล้เคียงกันนั่นเอง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email

Get a Demo

Your Information
About Company
Book a Demo
Your Information
About Company
Book a Demo